บริบทของล้านนา

								

บริบทของล้านนา อาณาจักรล้านนา พระยาเม็งรายมหาราช ผู้นำเผ่าไทสืบเชื้อสายจาก "ขุนเจื่อง" ที่เป็นผู้นำของชนชาติไทย หลายเผ่า ทั้งไทลื้อ ไทลาว ไทยวน ผู้ครองนคร "หิรัญนครเงินยางเชียงแสน" ต่อมาแผ่อิทธิพลสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง สถาปนา "อาณาจักรล้านนา" โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ในปี พ.ศ.1838 โดยรวบรวมหริภุญไชย ลำพูน เขลางค์นครลำปาง เข้าเป็นอาณาเขตแห่งอาณาจักรล้านนา

ราชสำนักล้านนาเชียงใหม่ ในเวลานั้นเจริญรุ่งเรืองและแผ่อิทธิพลกว้างไกลไปถึงเชียงตุงของชาวไทเขิน หรือไทขืน และเชียงรุ่งของชาวไทลื้อ สิบสองปันนา ดังปรากฎหลักฐานว่า แว่นแคว้นล้านช้างเชียงตุงมีสถานะดั่ง "เจ้าสามฝ่ายฟ้า" ที่ต้องส่งส่วยบรรณาการไปคาราวะอาณาจักรใหญ่ 3 แห่ง คือ จักรพรรดิจีน ราชสำนักพม่า และราชสำนักล้านนาเชียงใหม่ ชัยภูมิของเชียงใหม่ที่เป็นศูนย์กลางของแม่น้ำสำคัญ 3 สาย คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำปิง และแม่น้ำสาละวิน เป็นชุมทางการค้าขาย ที่มีสินค้าจากมณฑลยูนนานของจีนตอนใต้ อาณาจักรเชียงรุ้งสิบสองปันนา จากแคว้นเชียงตุงของชาวไทเขิน และเป็นที่พัก สินค้าจากพม่า อินเดีย ก่อนเข้าไปสู่เมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง และจีนตอนใต้ จากประวัติความเป็นมาของชนเผ่าดั้งเดิม และที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่ทำให้แนวความคิดทางด้านงานศิลปะที่ยังคงมีหลักฐาน แสดงให้เห็นว่าเชียงใหม่ได้รับสิ่งที่ตกทอดทางด้านศิลปะจากหลายทางทั้งจากหลวงพระบาง หรือล้านช้าง กับล้านนา มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันมา การเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนไหวของชนเผ่า สมัยเมื่อพญาเม็งรายเริ่มสร้างอิทธิพลนั้น อิทธิพลของความรู้ความเจริญ ภายนอกมีส่วนต่อความเปลี่ยนแปลงของชนเผ่าในแถบนี้ เนื่องจากมีแคว้นที่สำคัญอยู่แล้ว 2 แห่ง คือ พะเยา และหริภุญชัย(ลำพูน) จึงมีทั้งชนชาติ และชนเผ่ากระจายปะปนกันอยู่ ตำนานพงศาวดารเรียก เมาค์-มอญ ม่าน เงี้ยว ข่า ลัวะ ไต กร๋อม พญาเม็งรายได้แผ่อิทธิพลจากเชียงรายขึ้นเหนือไปถึงเขิน เชียงตุง เชียงรุ้ง สิบสองปัญนา เมื่อพญาเม็งรายยกทัพตีเมืองพะเยา พระยางำเมืองได้ยอมยกแคว้นปากน้ำถวายแก่พญาเม็งราย แล้วทำสัตย์ปฏิญาณเป็นไมตรีกันตามตำนานเล่าว่า พระยางำเมือง กับพระร่วงกรุงสุโขทัยเป็นสหายกัน เคยไปเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักสุกทันตฤาษีที่กรุงละโว้ด้วยกัน และเมื่อพญาเม็งรายตีเมือง หริภุญไชยได้เชิญพระร่วงและพระยางำเมืองร่วมปรึกษาหารือ และร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่ปี พ.ศ.1839 เป็นต้นมา การเกิดรัฐในสมัยพญาเม็งราย (พ.ศ 1781-1854) นับได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวของชนเผ่าจนเกิดเป็นชนชาติไต ตั้งถิ่นฐานอยู่หลายที่หลายแห่ง ศูนย์กลางการรวมตัวที่เลือกลุ่มน้ำปิงเป็นการรวมชุมชนในเขตที่ราบลุ่มเชียงรายและเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.1839 เป็นหลักฐานที่มีอยู่ทั้งในตำนานพงศาวดาร และจารึกฝ่ายไต มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในชุมชนหรือชนเผ่าต่างๆนั้น นอกจากต้องอาศัยปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคแล้ว ยังมีความต้องการอีกอย่างหนึ่ง ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ต้องการความสุขสบายทั้งของตนเอง และครอบครัว แต่สิ่งที่มนุษย์ ต้องเผชิญและมีอยู่ในทุกๆคน คือ ความกลัว กลัวในสิ่งที่ไม่รู้ กลัวสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีตัวตน เช่น ภูตผีปีศาจ กลัวตาย ความกลัวเป็นส่วนหนึ่ง ของมนุษย์ทุกชาติพันธุ์ ดังนั้นการหาช่องทางที่จะลดความกลัว การกระทำหรือการแสวงหาแนวทางเพื่อให้หายจากความกลัวที่ถ่ายทอด กันสืบต่อมาคือ การยึดถือปฏิบัติอยู่ในคำสอนของศาสนา ซึ่งศาสนา (Religion) อารีย์ สุทธิพันธ์ (2525) กล่าวไว้ว่า หมายถึง 1. ความเชื่อที่ผูกพันกับธรรมชาติของมนุษย์ต่อสภาพสูงสุด เพื่อความรู้สึกเป็นอิสรเสรี และความรับผิดชอบโดยตรงอย่างมีความรู้สึก ซึ่ง จะทำให้ลงมือกระทำตามความเชื่อด้วยความเต็มใจ 2. เป็นระบบความเชื่อ และความเคารพนับถือ ความกลัวความทุกข์ต่างๆ มนุษย์จะต้องใช้สติปัญญาหาช่องทางทำให้พันทุกข์ ความทุกข์ อันเกิดจากร่างกาย เช่น ถูกทำร้ายเป็นความทุกข์ที่อาจรักษาให้หายได้ แต่ความทุกข์ที่เกิดจากจิตใจ เช่น ความกลัวในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่คาดฝัน เช่น การเจ็บป่วย ล้มตาย โดยหาสาเหตุไม่ได้ มักจะมองไปที่การถูกกระทำ ซึ่งต้องหาทางป้องกัน สิ่งที่จะช่วยปัดเป่าให้พ้น ได้ คือการเข้าถึงศาสนา มีการทำบุญ ทำทาน ตั้งเครื่องเซ่นสังเวยมีเครื่องสักการะ ตามความคิดของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดปฏิบัติตามกันมา เพื่อคลายทุกข์ 3. เป็นส่วนที่สำคัญของการฝึกฝนปฏิบัติเพื่อให้ประสบความหลุดพ้น เช่น การปฏิบัติตนอยู่ในศีล ในธรรมเพื่อบุญกุศลของตนเอง 4. จัดหาวัตถุด้วยความตั้งใจ และด้วยน้ำใสใจจริงที่ประกอบด้วยความเชื่อในอำนาจสูงสุด 5. การปฏิบัติตามแนวทาง หรือความเชื่อที่มีมาก่อนตามคำบอกเล่า ความหมายของศาสนาทั้ง 5 ประการนี้อาจจะไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้รวดเร็ว ดังนั้นท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายอันเป็นสากลไว้ คือ "การประพฤติ หรือการกระทำตามกฎของความจริงแห่งธรรมชาติอันเด็ดขาด อันทำให้เกิดความสัมพันธ์กันขึ้นระหว่างมนุษย์กับสภาพ อันสูงสุด กล่าวคือ ความไม่มีทุกข์เลย" โดยทั่วไปจะมีการสั่งสอนให้ยึดถือศีล และปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีธรรม 4 ประการ คือ 1. ขอให้มีทรัพย์ 2. ขอให้มียศ 3. ขอให้อายุยืน 4. ขอให้ตายแล้วไปสู่สุคติโลกสวรรค์ และมีข้อปฏิบัติทำให้สำเร็จตามประสงค์ 4 ประการ คือ 1. ถึงพร้อมด้วยความเชื่อ 2. ถึงพรอมด้วยศีล 3. ถึงพร้อมด้วยการบริจาค 4. ถึงพร้อมด้วยปัญญา นอกจากนี้ในพุทธศาสนายังไม่มีคำสอนให้คนรู้จักปฏิบัติตัวเพื่อให้หลุดพ้นจากความกลัว หลุดพ้นจากกิเลส โดยให้เปรียบเทียบ กับธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัว สรุปความ คือ ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเสมือน กิ่งไม้ใบไม้ ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเสมือน สะเก็ดไม้ ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเสมือน เปลือกไม้ ญาณทัสสนะหรือปัญญา เปรียบเสมือน กะพี้ไม้ ความหลุดพ้นแห่งใจ เปรียบเสมือน แก่นไม้ การรับรู้ตามคำสั่งสอนนี้ทำให้มนทุกชาติพันธ์ พยายามหาวิธีที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งทำให้เกิดความคิดในการที่จะหาวิธี ประกอบพิธีกรรม ที่เชื่อว่าทำให้ปราศจากทุกข์
สินค้าล้านนามากมายราคาย่อมเยาว์ให้เลือกสรรค์ กับที่นี่ "ล้านนาเวย์"
www.lannaway.com, www.lannawaypro.com, www.lannaway.webiz.co.th

หมวดสินค้า




Lannaway Work Gallery

ตรวจสอบสถานะสิ่งของส่งทางไปรษณีย์
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Free counters!

    Lannaway (ล้านนาเวย์)
Copyright © 2011 Lannaway Chiangmai Thailand
powered by info@lannaway.com

โหลดหน้านี้ใช้เวลา : 0.0441 seconds [sitemap]