วิถีชีวิตชาวล้านนา กับประเพณียี่เป็ง

								

วิถีชีวิตชาวล้านนา กับประเพณียี่เป็ง

ลมหายใจแห่งวิถึชีวิตชาวล้านนาในสมัยก่อน ผู้คนจะยึดอาชีพ เกษตรกรรมเป็นหลัก ทำนา ทำสวน และทำไร่ ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ตามพระราชบัญญัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ช่วงเวลาก่อนจะถึงเทศกาลยี่เป็ง กลุ่มแม่บ้านมักจะรวมตัวกันทำโคมไฟล้านนา (โคมยี่เป็ง) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเตรียมใช้บูาในวันเพ็ญเดือนยี่ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งโคมไฟล้านนาแบบแขวน แบบตั้งพื้น และแบบถือ แล้วแต่การสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น

โคมไฟล้านนาที่นิยมโดยทั่วไป คือ โคมธรรมจักร (โคมเสมาธรรมจักร หรือ โคมรังมดส้ม) ,โคมดาว โคมกระจั๋ง, โคมดอกบัว และโคมผัด ในปัจจุบันมีการประยุกต์รูปแบบโคมล้านนา ให้มีความสวยงามในแบบร่วมสมัย เช่น โคมร่ม โคมพระอาทิตย์ โคมปราสาท โคมต้อง โคมม่าน โคมผัดหอคำ ฯลฯ

โคมไฟล้านนา (โคมยี่เป็ง) แต่ละชนิด มีความงดงาม และรูปทรงแตกต่างกันไป แต่ในปัจจุบันโคมไฟล้านนา ไม่เพียงแต่ใช้ตกแต่งในเทศกาลเท่านั้น ยังนิยมนำมาใช้ตกแต่งบ้านเรือน สถานที่ราชการ เอกชน ตลอดจน โรงแรม รีสอร์ท และสปา ที่นิยมตกแต่งสถานที่ในสไตล์ล้านนา ในที่นี้จะขอกล่าวถึง โคมไฟล้านนาที่นิยมใช้ในเทศกาลยี่เป็งในปัจจุบัน

1. โคมธรรมจักร (โคมเสมาธรรมจักร หรือโคมรังมดส้ม) มีรูปทรงที่เหมือนรังมดส้ม (มดแดง) และรูปทรงเป็นแปดเหลี่ยม จึงเรียกว่า ธรรมจักร ซึ่งหมายถึง "ความแจ้งในธรรม" จะใช้ในงานยี่เป็งหรือวันตั้งธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก ใช้แขวนไว้ในโบสถ์ บนศาลา ในวิหาร หรือทำค้างไม้ไผ่ทำชักรอกแขวนข้างโบสถ์ วิหารเป็นพุทธบูชา สวยงาม สว่างไสว หรือใช้ตกแต่งบ้านเรือน เพื่อบูชาเทพารักษ์ ผู้รักษาหอเรือน อาคารบ้านเรือนก็ได้ โคมธรรมจักร หรือโคมรังมดส้มนี้ ใช้ไม้ไผ่เฮียะ เหลาให้เป็นเส้น กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หนาประมาณ ๒ - ๓ มิลลิเมตร นำมาหักเป็น ๑๖, ๒๔ เหลี่ยมหรือตามต้องการ นำมาผูกด้วยด้ายให้แน่น เมื่อมัดโครงเสร็จแล้ว นำไม้เฮียะที่เตรียมไว้มาหักมุม เพื่อทำหูโคมเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อทำเป็นโครงสำเร็จแล้ว ติดกระดาษรอบโครง ปล่อยส่วนบนไว้ เพื่อเป็นช่องใส่ผางประทีป และให้อากาศเข้ามาในโคมได้ ตัดลวดลาย อาจจะเป็นลายดอกก๋ากอก (ลายประจำยาม) ลายตะวัน สำหรับประดับตกแต่ง หลังจากนั้นติดหางโคม

2. โคมกระจั๋ง หรือโคมกระจั๋งมงกุฎ มีรูปทรงคล้ายกระจั๋งสวมมงกุฏ เป็นโคมรูปแบบสมัยใหม่ บ้างเรียกโคมไห เพราะขึ้นรูปแบบโคมไห แต่เอาส่วนปลายเป็นส่วนหัว ส่วนหัวเป็นส่วนปลายโคม ส่วนคำว่า กระจั๋ง คือลายไทยรูปแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายกลีบของดอกบัว หรือตาอ้อย ด้านข้างแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก ลายไทยนี้ใช้ประดับตามขอบ เช่น ขอบของธรรมสาสน์ หรือขอบบนของลายหน้ากระดาน ลายกระจั๋งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น กระจั๋งรวน กระจั๋งปฏิญาณ กระจั๋งใบเทศ กระจั๋งหลังสิงห์ กระจัง๋หู เป็นต้น

3. โคมดาว เป็นโคมรูปดาว มีห้าแฉก ตัวโคมทำจากไม้ไผ่เฮียะ หักมุมเป็นห้ามุม ใช้กระดาษสาหรือผ้าติดหุ้มตัวโครง ตัดกระดาษสีเงินสีทองประดับตกแต่งลวดลาย ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายดวงตะวัน (พระอาทิตย์) เป็นลายลักษณะรูปกลม เจาะช่องตรงกลางเป็นปล่องสำหรับใส่ผางประทีส เพื่อจุดเป็นพุทธบูชา

หมวดสินค้า




Lannaway Work Gallery

ตรวจสอบสถานะสิ่งของส่งทางไปรษณีย์
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Free counters!

    Lannaway (ล้านนาเวย์)
Copyright © 2011 Lannaway Chiangmai Thailand
powered by info@lannaway.com

โหลดหน้านี้ใช้เวลา : 0.0270 seconds [sitemap]