เรื่องเล่าโคมล้านนา

								

เรื่องเล่าโคมล้านนา

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรากฎคำว่าโคมในฐานะของตะเกียงในตำนานเมืองสุวรรณโคมคำอันมี ร่องรอยอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง ตรงกันข้ามกับปากแม่น้ำกก อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีเรื่องเล่าว่า ในครั้งที่ลอยแพ สุวรรณมุขทวารราชกุมาร ซึ่งถูกใส่ความว่าอุบาทว์ เพราะประสูติออกจากปากของนางอุรสาราชเทวีนั้น เมื่อไอยะมหาอุปราช ทราบข่าวจึง "...ให้ตั้งการบวงสรวงนาคา ปักเสาประทีปโคมทองบูชาทุกท่าน้ำ..." เพียงแต่ในตำนานเท่านั้นมิได้บอกลักษณะ ของโคมหรือเชื้อเพลิงที่ใช้ไว้ด้วย ในส่วนของ หิรัญญา เทพบุตร โคมของชาวล้านนาเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลสำคัญๆ ที่จะต้องมีการปล่อยหรือแขวนไว้ที่ หน้าบ้านเป็นความเชื่อของชาวล้านนา ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน การปล่อยโคมถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ หรือที่เรียกว่า "การลอยเคราะห์" หิรัญญา เทพบุตร์ กล่าวว่า การยกโคมลอย หรือการลอยโคมแต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสาม คือ "พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม" ภายในโคมจะจุดเทียนซึ่งทาเปรียง หรือไขข้อพระโค ซึ่งพราหมณ์นำมาถวายการบูชา ด้วยน้ำมันไขข้อนี้เป็นพิธีการของลัทธิพราหมณ์แท้ๆ แต่พอมาในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราช ดำรัสว่า พระราชพิธีต่างๆ ที่มีนั้นจะต้องให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงโปรดให้มีการสวดมนต์เย็น ฉันท์เช้าก่อนเวลาที่จะยกโคม หรือลอยโคม พระสงฆ์ที่จะสวดมนต์ ประกอบได้ด้วยพระราชาคณะไทย1 พระครูปริตรไทย4 พระราชาคณะรามัญ1 พระครูปริวตรรามัญ4 รวมเป็น 10 รูป ในการทำพิธี(แต่โบราณ) โคมจะเป็นโครงไผ่ปิดกระดาษ ส่วนข้างใน สานเป็นชะลอมปิดกระดาษเป็นรูปกระบอกตรงๆ เทียนสำหรับจุดโคมชัยแต่ละคืน จะใช้เทียน 24 เล่ม พอจุดประมาณ 3 ชั่วโมง

ในสมัยก่อนจะมีโคมในพระราชวังปักประจำทุกตำหนักเจ้านาย เช่น ถ้าเป็นตำหนักเจ้าฟ้าก็จะใช้ โคมโครงไผ่หุ้มผ้าขาว เช่นเดียวกับโคมประเทียบ ถ้าเป็นตำหนักพระองค์เจ้า หรือเรือนข้างในก็ใช้โคมโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษ คล้ายกับโคมบริวารที่มีอยู่ทุกตำหนัก ซึ่งโคมทั้งหมดจะใช้ จุดตะเกียงด้วยถ้วยแก้ว หรือชาม เหมือนกับโคมบริวารของวังเจ้านาย ซึ่งอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง แต่สำหรับโคมชัย โคมประเทียบ และ โคมบริวารจะมีในพระราชวัง

แต่ปัจจุบันโคมมีหน้าที่ใช้สอย หรือทำขึ้นมาเพื่อนำไปถวายพระที่วัด เพราะมีความเชื่อว่าชาติหน้าเกิดมาจะได้มีสติปัญญาดี เนื่องจากแสงสว่าง เป็นแสงที่ส่องเข้าไปยังความมืด เปรียบเสมือนกับปัญญาที่จะมองเห็นถึงสิ่งต่างๆได้

แต่เดิมประเพณีการจุดโคมจะทำขึ้นเฉพาะในบ้านของเจ้านายใหญ่โต หรือผู้มีอันจะกินเท่านั้น โดยจะใช้ประทีปหรือเทียนจุดให้เกิดแสงสว่าง แล้วนำไปใส่ไว้ในโคม หรือใช้ประทีปที่มีลักษณะเป็นดวงประทีปเล็กๆ แล้วใช้น้ำมันงา น้ำมันละหุ่ง หรือน้ำมันมะพร้าวใส่ไปยังถ้วยดิน เพื่อให้ไฟติดไส้ที่อยู่ตรงกลางถ้วยหรือประทีป แต่ปัจจุบันใช้ไฟฟ้าเสียมากกว่า ตามปรกติการจุดโคมทำกันในวันพระ แต่จริงๆแล้ว การจุดโคมสามารถจุดได้ทุกวัน และไม่จำกัดโอกาส

สินค้าล้านนามากมายราคาย่อมเยาว์ให้เลือกสรรค์ กับที่นี่ "ล้านนาเวย์"
www.lannaway.com, www.lannawaypro.com, www.lannaway.webiz.co.th

หมวดสินค้า




Lannaway Work Gallery

ตรวจสอบสถานะสิ่งของส่งทางไปรษณีย์
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Free counters!

    Lannaway (ล้านนาเวย์)
Copyright © 2011 Lannaway Chiangmai Thailand
powered by info@lannaway.com

โหลดหน้านี้ใช้เวลา : 0.0270 seconds [sitemap]